ผู้จัดการมรดกคืออะไร
ผู้จัดการมรดก
ก็คือบุคคลที่มีหน้าที่ต้องจัดการทรัพย์สินของคนที่ตายไปแล้ว
และต้องจัดการให้เป็นไปตามกฎหมายด้วย
ในที่นี้คำว่า ผู้จัดการมรดก จะขอหมายถึงผู้จัดการมรดกตามที่ศาลได้มีการแต่งตั้ง
แล้วเมื่อไร
ถึงจะต้องมีการให้ศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
โดยส่วนมาก
ก็ต่อเมื่อไม่สามารถแบ่งปันทรัพย์มรดกของคนตายให้แก่ทายาทได้ เช่น
คนตายมีทรัพย์สินเป็นที่ดิน ๑ แปลง และได้ไปติดต่อที่สำนักงานที่ดินแล้ว แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่าต้องให้ผู้จัดการมรดกที่ศาลแต่งตั้ง
เป็นผู้มาติดต่อดำเนินการแบ่งปันให้แก่ทายาท เป็นต้น
แล้วใคร
ที่มีสิทธิยื่นร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกได้
ได้แก่ ทายาท , ผู้มีส่วนได้เสีย ,
พนักงานอัยการ
ลำดับต่อมา แล้วใคร ที่สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้
ก็ต้องเป็นบุคคลที่ศาลเห็นเหมาะสม
สมควรให้เป็นผู้จัดการมรดกของคนตายคนนั้นได้
แล้วอย่างไรถึงจะเรียกได้ว่า เหมาะสม
สมควร
อย่างน้อยบุคคลนั้น
ก็ต้องเป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะ , ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต , ไม่เป็นบุคคลผู้เสมือนไร้ความสามารถ
, ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นต้น
ส่วนเหตุสมควร หรือเหมาะสมอื่นๆ
ก็ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาลเป็นคดีๆไป
ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๗๑๓ ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้
ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป
หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์
(๒) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ
หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก
(๓)
เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใด ๆ
การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น
ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม
และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก
แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร
มาตรา
๑๗๑๘ บุคคลต่อไปนี้จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้
(๑) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
(๒) บุคคลวิกลจริต
หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
(๓) บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย
หมายเหตุ *
บทความนี้เป็นเพียงความเห็นทางกฎหมายเท่านั้น
ผลทางกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติทางกฎหมายจะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง
หากข้อเท็จจริงแตกต่างไป วิธีปฏิบัติและผลย่อมแตกต่างไปด้วย
หากต้องการปรึกษากฎหมาย กรุณาสอบถามทนายความเพิ่มเติม
** ทนายเชียงใหม่ ทนายความเชียงใหม่ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น