Pages

วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2566

ฟ้องคดีเงินกู้ ต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง

 

ฟ้องคดีเงินกู้ ต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง

          อย่างแรกเลย ก็ต้องถามก่อนว่า กู้ยืมเงินกันไปกี่บาท

          เหตุผลที่ต้องถามนั้น ก็เพราะ จำนวนเงินที่กู้ยืมกันนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่จำเป็นในการตอบคำถาม

          เพราะถ้าการกู้ยืมเงินไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท ในแง่ของหลักฐานแห่งการกู้มยืมเงินเป็นหนังสือนั้น ก็อาจไม่จำเป็นต้องใช้

          แต่ถ้าหาก มีการกู้ยืมเงินกันกว่า ๒,๐๐๐ บาท ขึ้นไป จำเป็นต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือมาฟ้องคดีด้วย

          แล้วคำว่า หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ มันคืออะไร

          จะเป็นสัญญาเงินกู้ทั่วๆไป ที่เราเคยเห็น หรือต้องทำขึ้นมาเฉพาะเจาะจง หรือต้องมีข้อความอะไรเป็นพิเศษหรือไม่

          คำตอบคำว่า มีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น จะเป็นสัญญาเงินกู้ทั่วๆไปก็ได้ หรือจะให้ทนายความร่างขึ้นมาเฉพาะเจาะจง หรือไม่ก็ได้ หรือจะเป็นเพียงเศษกระดาษที่มีข้อความเขียนก็ได้เช่นกัน

          ขอเพียงว่าได้ทำเป็นหนังสือ หรือถ้าเราเข้าใจโดยทั่วไป ก็คือมีตัวอักษรอยู่ในกระดาษ โดยควรจะมีอักษร หรือข้อความปรากฏได้ความว่า ใครกู้ยืมเงินใครไปจำนวนกี่บาท และให้ผู้ที่กู้ยืมเงินลงชื่อตนเองไว้ ก็เป็นอันว่า คือ หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ซึ่งสามารถนำไปฟ้องคดีได้แล้ว

          ส่วนหลักฐานอื่น ก็เช่น หลักฐานการส่งมอบเงินให้แก่ผู้กู้ยืม , ข้อมูลผู้กู้ยืม เป็นต้น      

          นอกจากนี้ การคุยสนทนาทางไลน์ หรือทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ก็อาจจะเข้าความหมายของคำว่า หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ

          คือ ถ้าทำความเข้าใจอย่างง่าย แม้ไม่มีหลักฐานเป็นแผ่นกระดาษที่มีข้อความกู้ยืมและลงลายมือชื่อไว้ แต่ถ้ามีข้อความทางโปรแกรมไลน์ ก็อาจใช้เป็นหลักฐานฟ้องคดีได้        ซึ่งในส่วนนี้ จะมีเขียนถึงในบทความอื่นต่อไป

 

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา ๖๕๓  การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว

.

. 

หมายเหตุ * บทความนี้เป็นเพียงความเห็นทางกฎหมายเท่านั้น ผลทางกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติทางกฎหมายจะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย หากข้อเท็จจริงแตกต่างไป วิธีปฏิบัติและผลย่อมแตกต่างไปด้วย หากต้องการปรึกษากฎหมาย หรือคดีความ กรุณาสอบถามทนายความเพิ่มเติม

.

** ทนายเชียงใหม่ ทนายความเชียงใหม่ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น