พระบรมราโชวาท

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันศุกร์ ที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๕

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2564

โดนฟ้องเป็นจำเลยคดีอาญา ไม่มีหลักทรัพย์ จะประกันตัวอย่างไร

 


โดนฟ้องเป็นจำเลยคดีอาญา ไม่มีหลักทรัพย์ จะประกันตัวอย่างไร

เป็นขั้นตอนปกติเมื่อเราถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาต่อศาล
เราจะต้องอยู่ในการควบคุมตัวของศาล
ถ้าพูดให้เข้าใจง่าย ก็คือ จำเลยจะต้องถูกจับตัวไปขังที่เรือนจำ

ในที่นี้จะไม่พูดถึงประเด็นว่าจำเลยผิด หรือ ไม่ผิด นะครับ

หากจำเลยต้องการอิสระภาพในระหว่างชั้นพิจารณา
หมายความว่า จำเลยไม่ต้องการโดนขัง หรือไม่ต้องการไปติดคุกระหว่างการพิจารณาคดีของศาล
ก็ต้องทำเรื่องขอประกันตัวต่อศาล

แต่การประกันตัวหลายครั้งก็ต้องใช้หลักทรัพย์

ถ้ามีหลักทรัพย์ของตนเอง หรือคนรู้จัก ก็คงไม่มีปัญหาอะไร

แต่ถ้าตนเองไม่มีหลักทรัพย์ ญาติหรือคนรู้จัก ก็ไม่มีหลักทรัพย์
อย่างนี้ก็ประกันตัวไม่ได้หรือไม่?

คำตอบ คือ แม้ฝ่ายจำเลยไม่มีหลักทรัพย์ของตนเอง ที่จะเอามาใช้ประกันตัวได้
ก็สามารถเช่าหลักทรัพย์ของนายประกันเพื่อนำมาประกันตัวได้

เช่าหลักทรัพย์ คือ อะไร ?

เช่าหลักทรัพย์ คือ การที่เรานำเงินที่เรามีไปจ่ายให้แก่บุคคลคนหนึ่งที่เรียกว่า "นายประกัน"
เพื่อให้เขายอมนำหลักทรัพย์ที่เขามี เอามาใช้ประกันตัวเราในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

แล้วค่าเช่าหลักทรัพย์ที่ว่า ต้องจ่ายค่าเช่าเท่าไร?
ประมาณค่าเช่าหลักทรัพย์กลางๆ อยู่ที่ประมาณ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ของราคาหลักทรัพย์

เช่น คดีเรื่องหนึ่งต้องใช้หลักทรัพย์ประกันตัวเป็นจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
ค่าเช่าหลักทรัพย์ ก็อาจจะประมาณ ๑๐,๐๐๐ บาท เป็นต้น

ข้อดีของการเช่าหลักทรัพย์ คือ แม้เราไม่มีหลักทรัพย์ของตนเอง ก็สามารถใช้เงินจำนวนน้อยกว่าเพื่อเช่าหลักทรัพย์มาประกันตัวได้

ข้อด้อย คือ ค่าเช่าหลักทรัพย์ที่เราจ่ายไปแล้ว ก็คือจ่ายไปเลย เป็นการแลกเปลี่ยนที่นายประกันยอมเอาหลักทรัพย์มาประกันตัวจำเลย

ส่วนที่ว่า ถ้าจะเช่าหลักทรัพย์ จะต้องเตรียมอะไรบ้างในการเช่าหลักทรัพย์ไว้บทความต่อไปจะมาเล่าให้ฟังครับ

หมายเหตุ * บทความนี้เป็นเพียงความเห็นทางกฎหมายเท่านั้น ผลทางกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติทางกฎหมายจะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงแตกต่างไป วิธีปฏิบัติและผลย่อมแตกต่างไปด้วย หากต้องการปรึกษากฎหมาย กรุณาสอบถามทนายความเพิ่มเติม

** ทนายเชียงใหม่ ทนายลำพูน ทนายลำปาง ทนายเชียงราย ทนายแม่ฮ่องสอน ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร







วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

กฎหมายยาเสพติดใหม่ หรือ ประมวลกฎหมายยาเสพติดมีผลใช้บังคับเมื่อไร

กฎหมายยาเสพติดใหม่ หรือ ประมวลกฎหมายยาเสพติดมีผลใช้บังคับเมื่อไร


เมื่อจะถามว่า กฎหมายยาเสพติดใหม่ หรือ ประมวลกฎหมายยาเสพติดมีผลใช้บังคับเมื่อไร กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการกำหนดวันที่ให้มีผลใช้บังคับก็คือ  พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.๒๕๖๔

 

โดยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.๒๕๖๔ ฉบับดังกล่าวจะเป็นตัวกำหนดว่า ประมวลกฎหมายยาเสพติด จะใช้บังคับเมื่อไร และมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง


ซึ่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.๒๕๖๔ มาตรา ๒ ระบุใจความไว้ว่า  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ทั้งนี้ พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.๒๕๖๔ มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔

ดังนั้นพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.๒๕๖๔ จึงมีผลใช้บังคับ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เป็นต้น นับเป็นวันแรก


และตามมาตรา ๓ ได้วางหลักไว้ว่า ประมวลกฎหมายยาเสพติดท้ายพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับเป็นต้นไป

เมื่อพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.๒๕๖๔ เริ่มบังคับใช้วันแรกในวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เมื่อนับไปจนครบ ๓๐ วัน คือ วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๔


ดังนั้นวันที่พ้นสามสิบวัน

ซึ่งประมวลกฎหมายยาเสพติด จะมีผลใช้บังคับคือ ประมาณวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป


*แหล่งอ้างอิง  ราชากิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๗๓ ก หน้าที่ ๑ วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/A/073/T_0001.PDF


หมายเหตุ * บทความนี้เป็นเพียงความเห็นทางกฎหมายเท่านั้น ผลทางกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติทางกฎหมายจะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงแตกต่างไป วิธีปฏิบัติและผลย่อมแตกต่างไปด้วย หากต้องการปรึกษากฎหมาย กรุณาสอบถามทนายความเพิ่มเติม

** ทนายเชียงใหม่ ทนายความเชียงใหม่ ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีความ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร