พระบรมราโชวาท

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันศุกร์ ที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๕

วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การขาดนัดยื่นคำให้การ กับ วันนัดไกล่เกลี่ย


จะเป็นอย่างไรเมื่อขาดนัดยื่นคำให้การ และในวันที่ศาลนัดไกล่เกลี่ย

โดยปกติถ้าเราถูกฟ้องต่อศาล ทางโจทก์ก็จะต้องทำการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้กับเราซึ่งเป็นจำเลย

เราในฐานะจำเลยเมื่อได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแล้ว ก็มีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การต่อศาลภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่หากเราไม่ได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฏหมายกำหนด ก็จะถือว่าเราขาดนัดยื่นคำให้การ และต่อไปที่มักจะเห็นบ่อยๆก็คือ โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ

ที่นี้ขั้นตอนทางศาลต่อไปก็คือ ศาลจะกำหนดนัดแรกขึ้นมา ๑ นัด ซึ่งก็มักจะเป็น "นัดไกล่เกลี่ย" โดยในนัดไกล่เกลี่ยนี้ วิธีหนึ่งที่เราในฐานะจำเลยพอจะทำได้เมื่อขาดนัดยื่นคำให้การ ก็คือ "การประนีประนอมยอมความ" 

โดยเท่าที่เห็นมา ในหลายๆครั้ง ทนายโจทก์ก็มักจะเตรียมสัญญาประนีประยอมความมาในนัดไกล่เกลี่ยด้วย ซึ่งเราหากขาดนัดยื่นคำให้การไปเสียแล้ว การตกลงทำยอมกับโจทก์ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง หากเนื้อหาในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเราพอที่จะรับได้ แต่หากไม่ทำยอม โจทก์ก็อาจจะสืบพยานไปฝ่ายเดียว แล้วศาลก็มีคำพิพากษาต่อไป

ทั้งนี้การทำสัญญาประนีประนอมยอมความในวันนัดไกล่เกลี่ย ในกรณีที่เราขาดนัดยื่นคำให้การ ก็เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่สามารถทำได้ แต่ก็ยังมีวิธีการอย่างอื่นนอกจากนี้ที่สามารถทำได้เช่นกัน 


*หมายเหตุ บทความนี้เป็นเพียงความเห็นทางกฎหมายเท่านั้น ผลทางกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติทางกฎหมายจะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงแตกต่างไป วิธีปฏิบัติและผลย่อมแตกต่างไปด้วย หากต้องการปรึกษาคดี ทนายความ กรุณาสอบถามเพิ่มเติม



**ปรึกษาคดี ปรึกษากฎหมาย ทนายเชียงใหม่ ทนายความเชียงใหม่ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร


ศาลเปิดทำการอาทิตย์ไหม?


ก่อนอื่นขอกล่าวสวัสดีก่อนครับ

วันนี้จะเล่าถึงว่าศาลเปิดทำการทำวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดหรือไม่

ศาลในที่นี้ที่ผมจะเล่าก็คือศาลเยาวชนและครอบครัว หรือบางคนอาจจะเรียกว่า "ศาลเด็ก"

ที่เรียกว่าศาลเด็ก ก็เพราะคดีที่จะถูกพิจารณาในศาลนี้จะเป็นคดีที่เกี่ยวกับครอบครัว หรือเกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชนเท่านั้น ในส่วนนิยามของคำว่าเด็ก หรือเยาวชนจะเล่าในบทความอื่นนะครับ

ศาลเด็กนั้นไม่ใช่แค่เปิดจันทร์-ศุกร์ หรือเสาร์ อาทิตย์ แต่เปิดทุกวัน ไม่มีวันหยุด

นั่นก็เป็นเพราะในคดีอาญาที่เด็กตกเป็นผู้ต้องหา กฎหมายกำหนดไว้แตกต่างจากคดีที่ผู้ใหญ่เป็นผู้ต้องหา

กล่าวคือในคดีที่เด็กเป็นผู้ต้องหากฎหมายกำหนดให้ตำรวจต้องนำตัวเด็กไปตรวจสอบการจับกุมที่ศาลภายใน24ชั่วโมง นับแต่เวลาที่เด็กไปถึงพนักงานสอบสวน

คำว่าตรวจสอบการจับกุม หรือเรียกสั้นๆว่า"ตรวจจับ" คือ การตรวจสอบดูว่าการจับกุมตัวเด็กกระทำไปโดยถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ หากไม่ถูกต้องก็ต้องปล่อยตัวเด็กนั้นไป

*หมายเหตุ บทความนี้เป็นเพียงความเห็นทางกฎหมายเท่านั้น ผลทางกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติทางกฎหมายจะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงแตกต่างไป วิธีปฏิบัติและผลย่อมแตกต่างไปด้วย หากต้องการปรึกษาคดี ทนายความ กรุณาสอบถามเพิ่มเติม

**ปรึกษาคดี ปรึกษากฎหมาย ทนายเชียงใหม่ ทนายความเชียงใหม่ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร




วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559

นัดไต่สวนเหตุบรรเทาโทษ พ.ร.บ.ยาเสพติด ม.100/2 ตอนที่ 1


สวัสดีครับ

          ถ้าจะพูดถึงยาเสพติด บ่อยครั้งที่เราจะได้ยินคำว่า "100/2" ซึ่งถ้าเป็นนักกฎหมายแล้ว หลายๆคนก็คงจะรู้จักกัน

          ก่อนจะเล่าต่อไปก็ขอหยิบยกตัวบทกฎหมายขึ้นมาก่อนนะครับ พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ มาตรา 100/2 "ถ้าศาลเห็นว่าผู้กระทำความผิดผู้ใดได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือพนักงานสอบสวน ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้"


          วันนี้ที่จะเล่าก็เป็นเรื่อง 100/2 เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมด ในทางปฏิบัติอาจจะมีแตกต่าง หรือที่ไม่เหมือนกับพี่ผมจะเล่าให้ฟัง


          100/2 นั้นก็คือตัวบทกฎหมายที่จะช่วยบรรเทาโทษให้แก่ผู้ที่กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดครับ แต่จะบรรเทาโทษตามมาตรานี้ได้ต้องประกอบด้วยเงื่อนไข 2 ข้อ ครับ ดังนี้

                   1.ผู้กระทำความผิดต้องได้ให้ข้อมูลที่สำคัญแก่ตำรวจ(หรือบุคคลอื่นตามมาตรา 100/2)
                   2.ข้อมูลที่ให้นั้นต้องเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามเกี่ยวกับยาเสพติด      

           ผมขอยกเป็นตัวอย่างแล้วกันนะครับ

                   1.ผู้กระทำความผิดต้องได้ให้ข้อมูลที่สำคัญแก่ตำรวจ เช่น ถ้าเราถูกตำรวจจับกุมในข้อหายาเสพติด แล้วเราสำนึกผิดให้การที่เป็นประโยชน์ต่อตำรวจว่าเราซื้อยาบ้ามาจากใคร เป็นต้น
                   2.่ข้อมูลที่ให้นั้นต้องเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปราม เช่น ในการที่เราให้ข้อมูลแก่ตำรวจว่าซื้อยาบ้ามาจากใคร จนเป็นเหตุทำให้ตำรวจสามารถติดตามไปจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้ และสามารถนำตัวไปดำเนินคดีได้ตามกฎหมาย
                            ซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามเกี่ยวกับยาเสพติดนี้ ศาลฎีกาก็ได้เคยมีคำพิพากษาไว้แล้วเรื่องจำนวนยาเสพติดที่ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง แล้วผมจะนำคำพิพากษาศาลฎีกามาให้อ่านในตอนต่อไปครับ

*หมายเหตุ บทความนี้เป็นเพียงความเห็นทางกฎหมายเท่านั้น ผลทางกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติทางกฎหมายจะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงแตกต่างไป วิธีปฏิบัติและผลย่อมแตกต่างไปด้วย หากต้องการปรึกษาคดี ทนายความ กรุณาสอบถามเพิ่มเติม

**ปรึกษาคดี ปรึกษากฎหมาย ทนายเชียงใหม่ ทนายความเชียงใหม่ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การเยี่ยมผู้ต้องขังในเรือนจำ


สวัสดีครับ วันนี้จะขอเล่าเรื่องการเยี่ยมผู้ต้องขังในเรือนจำครับ

ผมจะขอยกตัวอย่าง เรือนจำกลางจังหวัดเชียงใหม่ครับ

สำหรับการเยี่ยมผู้ต้องขังนั้น ประชาชนทั่วไปที่เป็นพ่อแม่ พี่น้อง หรือญาติ ก็ตาม การเยี่ยมผู้ต้องขังนั้น จะถูกกำหนดวันที่สามารถเข้าเยี่ยมได้โดยเรือนจำ

ยกตัวอย่างเช่นถ้าผู้ต้องขังอยู่เรือนจำที่ ๗ ก็จะสามารถเข้าเยี่ยมได้ในวันพุธ เท่านั้น

แต่ถ้าผู้ต้องขังอยู่เรือนจำที่ ๑ , ๒ , ๓ หรืออื่นๆ ก็จะมีวันที่เรือนจำกำหนดให้สามารถเข้าเยี่ยมได้เป็นวันๆไป จะไม่สามารถเข้าเยี่ยมได้ทุกวัน

ซึ่งจะแตกต่างกับทนายความ เพราะทนายความสามารถเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังในวันเวลาทำการใดๆ ก็ได้ เพราะทนายความเป็นผู้ที่จะคอยช่วยดำเนินการทางด้านคดีความให้แต่ตัวผู้ต้องขัง เช่น การสอบถามข้อเท็จจริงทางด้านคดีความ เป็นต้น จึงมีสิทธิการเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังที่มากกว่า

ดังนั้นหากพ่อแม่ พี่น้อง หรือญาติ ของผู้ต้องขังมีข้อความ ข้อมูล หรือต้องการบอกกล่าวอะไรแก่ผู้ต้องขัง ก็สามารถให้ทนายความช่วยเป็นสื่อกลางได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการอำนวยความให้แก่พ่อแม่ พี่น้อง หรือญาติ ของผู้ต้องขังในกรณีที่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบก่อนที่จะถึงวันเยี่ยมสำหรับผู้ต้องขังเรือนจำหมายเลขนั้นๆ 

*หมายเหตุ บทความนี้เป็นเพียงความเห็นทางกฎหมายเท่านั้น ผลทางกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติทางกฎหมายจะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงแตกต่างไป วิธีปฏิบัติและผลย่อมแตกต่างไปด้วย หากต้องการปรึกษาคดี ทนายความ กรุณาสอบถามเพิ่มเติม


**ปรึกษาคดี ปรึกษากฎหมาย ทนายเชียงใหม่ ทนายความเชียงใหม่ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร

ศาลนัดไกล่เกลี่ย ให้การ สืบพยาน คดีมโนสาเร่หรือคดีไม่มีข้อยุ่งยาก


สวัสดีครับ

ในนัดไกล่เกลี่ย ให้การ สืบพยาน คดีมโนสาเร่หรือคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ในนัดแรกนั้น


ในคดีแพ่งสามัญ ปกติแล้วเมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องของโจทก์แล้ว

หากรับด้วยตัวเองก็มีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหมาย
หากรับด้วยวิธีปิดหมายก็มีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ปิดหมาย

แต่สำหรับในคดีมโนสาเร่หรือคดีไม่มีข้อยุ่งยากนั้น ตามกฎหมายจำเลยสามารถยื่นคำให้การได้ภายในวันนัดแรกหรือ "นัดไกล่เกลี่ย ให้การ สืบพยาน" นั้นเอง ตามที่ปรากฎในหมายครับ


ดังนั้นหากท่านผู้อ่านตกเป็นจำเลยและได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องก็ขอให้สังเกตด้วยนะครับว่าหมายที่ได้รับ เป็นหมายเรียกคดีแพ่งสามัญ หรือคดีมโนสาเร่หรือคดีไม่มีข้อยุ่งยาก เพื่อที่จะได้ยื่นคำให้การใด้ทันตามกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย


ไม่อย่างนั้นแล้ว หากเลยกำหนดระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด ก็อาจจะถูกศาลสั่งให้ขาดนัดยื่นคำให้การ และอาจเป็นผลให้ศาลสั่งให้โจทก์ชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การได้ เรียกได้ว่าจำเลยแพ้ตั้งแต่ยังไม่ได้สู้


บทความต่อไปผมจะมาเล่าถึงกรณีที่เราจำเลยไม่อาจยื่นคำให้การทันภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด ว่าจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรครับ



*หมายเหตุ บทความนี้เป็นเพียงความเห็นทางกฎหมายเท่านั้น ผลทางกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติทางกฎหมายจะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงแตกต่างไป วิธีปฏิบัติและผลย่อมแตกต่างไปด้วย หากต้องการปรึกษาคดี ทนายความ กรุณาสอบถามเพิ่มเติม

**ปรึกษาคดี ปรึกษากฎหมาย ทนายเชียงใหม่ ทนายความเชียงใหม่ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร




อยู่ระหว่างดำเนินการ ...






อยู่ระหว่างดำเนินการ ...