วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การขาดนัดยื่นคำให้การ กับ วันนัดไกล่เกลี่ย


จะเป็นอย่างไรเมื่อขาดนัดยื่นคำให้การ และในวันที่ศาลนัดไกล่เกลี่ย

โดยปกติถ้าเราถูกฟ้องต่อศาล ทางโจทก์ก็จะต้องทำการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้กับเราซึ่งเป็นจำเลย

เราในฐานะจำเลยเมื่อได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแล้ว ก็มีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การต่อศาลภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่หากเราไม่ได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฏหมายกำหนด ก็จะถือว่าเราขาดนัดยื่นคำให้การ และต่อไปที่มักจะเห็นบ่อยๆก็คือ โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ

ที่นี้ขั้นตอนทางศาลต่อไปก็คือ ศาลจะกำหนดนัดแรกขึ้นมา ๑ นัด ซึ่งก็มักจะเป็น "นัดไกล่เกลี่ย" โดยในนัดไกล่เกลี่ยนี้ วิธีหนึ่งที่เราในฐานะจำเลยพอจะทำได้เมื่อขาดนัดยื่นคำให้การ ก็คือ "การประนีประนอมยอมความ" 

โดยเท่าที่เห็นมา ในหลายๆครั้ง ทนายโจทก์ก็มักจะเตรียมสัญญาประนีประยอมความมาในนัดไกล่เกลี่ยด้วย ซึ่งเราหากขาดนัดยื่นคำให้การไปเสียแล้ว การตกลงทำยอมกับโจทก์ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง หากเนื้อหาในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเราพอที่จะรับได้ แต่หากไม่ทำยอม โจทก์ก็อาจจะสืบพยานไปฝ่ายเดียว แล้วศาลก็มีคำพิพากษาต่อไป

ทั้งนี้การทำสัญญาประนีประนอมยอมความในวันนัดไกล่เกลี่ย ในกรณีที่เราขาดนัดยื่นคำให้การ ก็เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่สามารถทำได้ แต่ก็ยังมีวิธีการอย่างอื่นนอกจากนี้ที่สามารถทำได้เช่นกัน 


*หมายเหตุ บทความนี้เป็นเพียงความเห็นทางกฎหมายเท่านั้น ผลทางกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติทางกฎหมายจะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงแตกต่างไป วิธีปฏิบัติและผลย่อมแตกต่างไปด้วย หากต้องการปรึกษาคดี ทนายความ กรุณาสอบถามเพิ่มเติม



**ปรึกษาคดี ปรึกษากฎหมาย ทนายเชียงใหม่ ทนายความเชียงใหม่ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น