พระบรมราโชวาท

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันศุกร์ ที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๕

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

จำหน่ายคดีออกจากสารบบชั่วคราว



จำหน่ายคดีออกจากสารบบชั่วคราว

การจำหน่ายคดีออกจากสารบบชั่วคราวนั้น อาจมีได้อยู่หลายกรณี

แต่ก็กรณีที่จะพูดถึงในที่นี้ขอกล่าวถึง การจำหน่ายคดีออกจากสารบบชั่วคราวในคดีอาญา ซึ่งคู่ความ หรือจำเลยกับผู้เสียหายสามารถตกลงยอดเงินค่าเสียหายกันได้

ในกรณีคดีอาญาที่จำเลยตกลงรับสารภาพ และตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายนั้น คู่ความอาจร่วมกันแถลงต่อศาลเพื่อขอให้ศาลจำหน่ายคดีออกจากสารบบชั่วคราวได้ (การจำหน่ายคดีออกจากสารบบชั่วคราว คือ การที่ศาลหยุดการพิจารณาคดีใดคดีหนึ่งเป็นการระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งจะเป็นระยะเวลาเท่าไร ก็ขึ้นอยู่กับเหตุที่ทำให้ศาลต้องจำหน่ายคดีชั่วคราว)

เช่นจำเลยตกลงขอผ่อนชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายเป็นระยะเวลา ๑ ปี ก็สามารถใช้ระยะเวลาตรงนี้แถลงต่อศาลเพื่อขอให้ศาลจำหน่ายคดีออกจากสารบบชั่วคราวได้

*หมายเหตุ บทความนี้เป็นเพียงความเห็นทางกฎหมายเท่านั้น ผลทางกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติทางกฎหมายจะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงแตกต่างไป วิธีปฏิบัติและผลย่อมแตกต่างออกไป หากต้องการปรึกษาคดี ทนายความ กรุณาสอบถามเพิ่มเติม

**ปรึกษาคดี ปรึกษากฎหมาย ทนายเชียงใหม่ ทนายความเชียงใหม่ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร

คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา


คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา


ถ้าจะให้อธิบายอย่างย่อๆ ก็คือ การกระทำผิดหนึ่งอย่างที่เป็นทั้งความผิดทางคดีอาญา และเป็นความผิดในทางแพ่งด้วย


ตัวอย่างเช่น นายAจงใจใช้ไม้หน้าสามไปทุบตีรถของนายBจนได้รับความเสียหาย กรณีแบบนี้นายBมีสิทธิดำเนินคดีอาญาข้อหาทำให้เสียทรัพย์กับนายAเพื่อให้นายAได้รับโทษทางอาญาเช่นติดคุก และในอีกทางหนึ่งนายBก็มีสิทธิฟ้องร้องนายAเป็นคดีแพ่งเรียกร้องให้นายAชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายBได้ในข้อหาละเมิด


ในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญามีอยู่หลายการกระทำที่อาจเป็นความผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญาพร้อมกัน


ซึ่งบางการกระทำความผิดผู้เสียหายก็สามารถเลือกได้ว่าจะดำเนินคดีอาญา และเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งไปในคดีอาญาด้วยเลยก็ได้


หรือบางครั้งผู้เสียหายอาจเลือกฟ้องแยกคดีก็ย่อมทำได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเจตนาในการดำเนินคดีของผู้เสียหาย


*หมายเหตุ บทความนี้เป็นเพียงความเห็นทางกฎหมายเท่านั้น ผลทางกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติทางกฎหมายจะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงแตกต่างไป วิธีปฏิบัติและผลย่อมแตกต่างออกไป หากต้องการปรึกษาคดี ทนายความ กรุณาสอบถามเพิ่มเติม

**ปรึกษาคดี ปรึกษากฎหมาย ทนายเชียงใหม่ ทนายความเชียงใหม่ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร

วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โดนฟ้องหนี้บัตรเครดิต ต้องทำอย่างไร


โดนฟ้องหนี้บัตรเครดิต ต้องทำอย่างไร


สวัสดีครับ วันนี้จะพูดถึงเรื่องหนี้บัตรเครดิต


บัตรเครดิตนั้น เมื่อเวลาเรานำไปใช้ซื้อของ ก็จะมีระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยให้ ถ้าหากเราชำระภายในกำหนด


แต่ถ้าเลยกำหนด ก็จะต้องเสียดอกเบี้ย ซึ่งบางครั้งดอกเบี้ยก็สูงมาก และเมื่อเลยกำหนดไปมากๆ ก็จะถูกฟ้องให้ชำระหนี้


หนี้บัตรเครดิตนั้น เป็นคดีแพ่ง หากเราตกเป็นจำเลย เราจะได้รับหมายศาล ซึ่งหมายศาลมักจะกำหนดนัดครั้งแรกว่าเป็น นัดไกล่เกลี่ย ให้การ สืบพยานโจทก์


หลายครั้ง เมื่อตกเป็นจำเลย และศาลมีหมายมาส่ง จำเลยมักเลือกที่จะไม่ไปศาล เพราะกลัวว่าจะยุ่งยาก กว่าจะโดนบังคับให้จ่ายเงิน หรือกลัวไปต่างๆนาๆ


แต่แท้ที่จริงแล้ว การเลือกไม่ไปศาลนั้นเป็นโทษยิ่งกว่า เพราะหากจำเลยได้รับหมายแล้วไม่ไปตามนัด โจทก์ก็จะสืบฝ่ายเดียว ซึ่งบ่อยครั้งศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้อง


นั่นก็หมายความว่าโจทก์ฟ้องมาเท่าไร ก็อาจจะได้รับตามนั้น ซึ่งบางครั้งแล้ว ความจริงยอดหนี้อาจจะไม่ถึงตามที่ฟ้อง นั่นก็เป็นผลเสียที่เราไม่ไปศาล


การไปศาลตามนัดเป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่ง เพราะหากเราไปศาล ในกรณีที่เราไม่ได้เป็นหนี้ตามที่ถูกฟ้อง เราก็มีโอกาสได้ให้การกับศาล


หรือกรณีที่เราเป็นหนี้จริง เราก็จะได้ใช้โอกาสนี้ไกล่เกลี่ยลดย่อนยอดหนี้และต้นเงิน รวมไปถึงการขอผ่อนชำระด้วย


ซึ่งหลายครั้ง โจทก์ก็มักจะตกลงให้ผ่อนตามยอดที่จำเลยยังพอมีความสามารถผ่อนได้


ตรงกันข้าม ถ้าเราไม่ไปศาลเลย แล้วศาลมีคำพิพากษาออกมา โจทก์ก็มีสิทธิบังคับคดีเอากับจำเลยจากทรัพย์สินที่เป็นของจำเลยมาชำระหนี้ได้ ไม่ว่าเป็นรถ บ้าน เงินในบัญชี เงินเดือน(กรณีเป็นเอกชน) ฯลฯ


*หมายเหตุ บทความนี้เป็นเพียงความเห็นทางกฎหมายเท่านั้น ผลทางกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติทางกฎหมายจะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงแตกต่างไป วิธีปฏิบัติและผลย่อมแตกต่างไปด้วย หากต้องการปรึกษาคดี ทนายความ กรุณาสอบถามเพิ่มเติม


**ปรึกษาคดี ปรึกษากฎหมาย ทนายเชียงใหม่ ทนายความเชียงใหม่ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

จะฟ้องคดี ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง


สวัสดีครับ

วันนี้ก็ตามชื่อเรื่องเลยครับ ถ้าจะฟ้องคดี เราต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

คงเป็นคำถามที่ใครหลายๆคนอยากจะรู้ เวลาที่จะจ้างทนายความดำเนินคดีให้

ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นก็จะมีดังต่อไปนี้ครับ

1.ค่าทนายความ  ก็คือค่าจ้างให้ทนายความดำเนินการต่างๆแทนเรา เช่น ทำสำนวนคดีฟ้อง ไปศาล คัดถ่ายเอกสาร สืบพยาน เป็นต้น

2.ค่าขึ้นศาล  คือ เงินที่เราต้องจ่ายให้กับศาลเมื่อเราจะนำคดีไปฟ้องที่ศาล ซึ่งปกติแล้วจะเสียในอัตราร้อยละ 2 ของทุนทรัพย์ สมมติเช่น เราจะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากมูลหนี้ข้อหาละเมิดจำนวน 100 บาท เราก็ต้องเสียค่าขึ้นศาล 2 บาท

3.ค่าส่งหมาย  ถ้าจะพูดถึงหมายมีหมายอยู่หลายอย่าง แต่ในขั้นตอนฟ้องคดี หมายที่เกี่ยวข้องก็คือ ค่าส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลย เวลาที่เราฟ้องคดีใครก็ตาม ตามกฎหมายกำหนดให้เราต้องส่งสำเนาคำฟ้องไปให้จำเลยที่ถูกฟ้อง วิธีส่งก็คือเจ้าหน้าที่ศาลจะเป็นผู้ไปส่งให้จำเลย ค่าส่งหมายนั้นจะเป็นเงินเท่าไรก็ขึ้นอยู่กับแต่ละศาลจะกำหนด

นี่ก็เป็นค่าใช้จ่ายเบื้องต้นที่เราต้องเสียเมื่อจะฟ้องคดี ในบางครั้งทนายกับลูกความอาจตกลงเหมาจ่ายทั้งหมดรวมกันก็ได้ หรืออาจมีค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่มเข้ามา ก็เป็นไปตามที่ทนายความและลูกความจะตกลงกันครับ

*หมายเหตุ บทความนี้เป็นเพียงความเห็นทางกฎหมายเท่านั้น ผลทางกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติทางกฎหมายจะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงแตกต่างไป วิธีปฏิบัติและผลย่อมแตกต่างไปด้วย หากต้องการปรึกษาคดี ทนายความ กรุณาสอบถามเพิ่มเติม

**ปรึกษาคดี ปรึกษากฎหมาย ทนายเชียงใหม่ ทนายความเชียงใหม่ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร

วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ค่าทนายความ VS ค่าขึ้นศาล


สวัสดีครับ

วันนี้ขอพูดถึงเรื่องค่าทนายความ กับค่าขึ้นศาล
สองคำนี้เราจะต้องพบเจอทุกครั้งที่มีการว่าจ้างทนายความดำเนินคดีให้เราครับ

เริ่มด้วยคำว่า "ค่าทนายความ" หรือบางครั้งอาจเรียกว่า ค่าทนาย ค่าวิชาชีพทนาย หรือบางครั้งอาจจะมีคำที่ใช้เรียกอย่างอื่นอีก โดยหลักแล้วความหมายคือ เงินที่เราจ่ายให้กับทนายความเพื่อเป็นค่าดำเนินการต่างๆแทนเราในงานที่เกี่ยวกับคดีความ ซึ่งค่าทนายความนี้ไม่ได้รวมไปถึง ค่าขึ้นศาลแต่อย่างใด

ค่าขึ้นศาล คือ เงินที่เราต้องจ่ายให้กับศาลตามที่กฎหมายกำหนดไว้ กล่าวคือ ในการที่เราจะนำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อฟ้องใครก็ตาม เราต้องเสียเงินให้กับศาลด้วย ซึ่งปกติต้องเสียในอัตราร้อยละ 2 ของทุนทรัพย์ที่เราฟ้อง

*หมายเหตุ บทความนี้เป็นเพียงความเห็นทางกฎหมายเท่านั้น ผลทางกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติทางกฎหมายจะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงแตกต่างไป วิธีปฏิบัติและผลย่อมแตกต่างไปด้วย หากต้องการปรึกษาคดี ทนายความ กรุณาสอบถามเพิ่มเติม

**ปรึกษาคดี ปรึกษากฎหมาย ทนายเชียงใหม่ ทนายความเชียงใหม่ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร

วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การขาดนัดยื่นคำให้การ กับ วันนัดไกล่เกลี่ย


จะเป็นอย่างไรเมื่อขาดนัดยื่นคำให้การ และในวันที่ศาลนัดไกล่เกลี่ย

โดยปกติถ้าเราถูกฟ้องต่อศาล ทางโจทก์ก็จะต้องทำการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้กับเราซึ่งเป็นจำเลย

เราในฐานะจำเลยเมื่อได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแล้ว ก็มีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การต่อศาลภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่หากเราไม่ได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฏหมายกำหนด ก็จะถือว่าเราขาดนัดยื่นคำให้การ และต่อไปที่มักจะเห็นบ่อยๆก็คือ โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ

ที่นี้ขั้นตอนทางศาลต่อไปก็คือ ศาลจะกำหนดนัดแรกขึ้นมา ๑ นัด ซึ่งก็มักจะเป็น "นัดไกล่เกลี่ย" โดยในนัดไกล่เกลี่ยนี้ วิธีหนึ่งที่เราในฐานะจำเลยพอจะทำได้เมื่อขาดนัดยื่นคำให้การ ก็คือ "การประนีประนอมยอมความ" 

โดยเท่าที่เห็นมา ในหลายๆครั้ง ทนายโจทก์ก็มักจะเตรียมสัญญาประนีประยอมความมาในนัดไกล่เกลี่ยด้วย ซึ่งเราหากขาดนัดยื่นคำให้การไปเสียแล้ว การตกลงทำยอมกับโจทก์ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง หากเนื้อหาในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเราพอที่จะรับได้ แต่หากไม่ทำยอม โจทก์ก็อาจจะสืบพยานไปฝ่ายเดียว แล้วศาลก็มีคำพิพากษาต่อไป

ทั้งนี้การทำสัญญาประนีประนอมยอมความในวันนัดไกล่เกลี่ย ในกรณีที่เราขาดนัดยื่นคำให้การ ก็เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่สามารถทำได้ แต่ก็ยังมีวิธีการอย่างอื่นนอกจากนี้ที่สามารถทำได้เช่นกัน 


*หมายเหตุ บทความนี้เป็นเพียงความเห็นทางกฎหมายเท่านั้น ผลทางกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติทางกฎหมายจะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงแตกต่างไป วิธีปฏิบัติและผลย่อมแตกต่างไปด้วย หากต้องการปรึกษาคดี ทนายความ กรุณาสอบถามเพิ่มเติม



**ปรึกษาคดี ปรึกษากฎหมาย ทนายเชียงใหม่ ทนายความเชียงใหม่ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร


ศาลเปิดทำการอาทิตย์ไหม?


ก่อนอื่นขอกล่าวสวัสดีก่อนครับ

วันนี้จะเล่าถึงว่าศาลเปิดทำการทำวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดหรือไม่

ศาลในที่นี้ที่ผมจะเล่าก็คือศาลเยาวชนและครอบครัว หรือบางคนอาจจะเรียกว่า "ศาลเด็ก"

ที่เรียกว่าศาลเด็ก ก็เพราะคดีที่จะถูกพิจารณาในศาลนี้จะเป็นคดีที่เกี่ยวกับครอบครัว หรือเกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชนเท่านั้น ในส่วนนิยามของคำว่าเด็ก หรือเยาวชนจะเล่าในบทความอื่นนะครับ

ศาลเด็กนั้นไม่ใช่แค่เปิดจันทร์-ศุกร์ หรือเสาร์ อาทิตย์ แต่เปิดทุกวัน ไม่มีวันหยุด

นั่นก็เป็นเพราะในคดีอาญาที่เด็กตกเป็นผู้ต้องหา กฎหมายกำหนดไว้แตกต่างจากคดีที่ผู้ใหญ่เป็นผู้ต้องหา

กล่าวคือในคดีที่เด็กเป็นผู้ต้องหากฎหมายกำหนดให้ตำรวจต้องนำตัวเด็กไปตรวจสอบการจับกุมที่ศาลภายใน24ชั่วโมง นับแต่เวลาที่เด็กไปถึงพนักงานสอบสวน

คำว่าตรวจสอบการจับกุม หรือเรียกสั้นๆว่า"ตรวจจับ" คือ การตรวจสอบดูว่าการจับกุมตัวเด็กกระทำไปโดยถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ หากไม่ถูกต้องก็ต้องปล่อยตัวเด็กนั้นไป

*หมายเหตุ บทความนี้เป็นเพียงความเห็นทางกฎหมายเท่านั้น ผลทางกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติทางกฎหมายจะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงแตกต่างไป วิธีปฏิบัติและผลย่อมแตกต่างไปด้วย หากต้องการปรึกษาคดี ทนายความ กรุณาสอบถามเพิ่มเติม

**ปรึกษาคดี ปรึกษากฎหมาย ทนายเชียงใหม่ ทนายความเชียงใหม่ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร




วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559

นัดไต่สวนเหตุบรรเทาโทษ พ.ร.บ.ยาเสพติด ม.100/2 ตอนที่ 1


สวัสดีครับ

          ถ้าจะพูดถึงยาเสพติด บ่อยครั้งที่เราจะได้ยินคำว่า "100/2" ซึ่งถ้าเป็นนักกฎหมายแล้ว หลายๆคนก็คงจะรู้จักกัน

          ก่อนจะเล่าต่อไปก็ขอหยิบยกตัวบทกฎหมายขึ้นมาก่อนนะครับ พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ มาตรา 100/2 "ถ้าศาลเห็นว่าผู้กระทำความผิดผู้ใดได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือพนักงานสอบสวน ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้"


          วันนี้ที่จะเล่าก็เป็นเรื่อง 100/2 เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมด ในทางปฏิบัติอาจจะมีแตกต่าง หรือที่ไม่เหมือนกับพี่ผมจะเล่าให้ฟัง


          100/2 นั้นก็คือตัวบทกฎหมายที่จะช่วยบรรเทาโทษให้แก่ผู้ที่กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดครับ แต่จะบรรเทาโทษตามมาตรานี้ได้ต้องประกอบด้วยเงื่อนไข 2 ข้อ ครับ ดังนี้

                   1.ผู้กระทำความผิดต้องได้ให้ข้อมูลที่สำคัญแก่ตำรวจ(หรือบุคคลอื่นตามมาตรา 100/2)
                   2.ข้อมูลที่ให้นั้นต้องเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามเกี่ยวกับยาเสพติด      

           ผมขอยกเป็นตัวอย่างแล้วกันนะครับ

                   1.ผู้กระทำความผิดต้องได้ให้ข้อมูลที่สำคัญแก่ตำรวจ เช่น ถ้าเราถูกตำรวจจับกุมในข้อหายาเสพติด แล้วเราสำนึกผิดให้การที่เป็นประโยชน์ต่อตำรวจว่าเราซื้อยาบ้ามาจากใคร เป็นต้น
                   2.่ข้อมูลที่ให้นั้นต้องเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปราม เช่น ในการที่เราให้ข้อมูลแก่ตำรวจว่าซื้อยาบ้ามาจากใคร จนเป็นเหตุทำให้ตำรวจสามารถติดตามไปจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้ และสามารถนำตัวไปดำเนินคดีได้ตามกฎหมาย
                            ซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามเกี่ยวกับยาเสพติดนี้ ศาลฎีกาก็ได้เคยมีคำพิพากษาไว้แล้วเรื่องจำนวนยาเสพติดที่ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง แล้วผมจะนำคำพิพากษาศาลฎีกามาให้อ่านในตอนต่อไปครับ

*หมายเหตุ บทความนี้เป็นเพียงความเห็นทางกฎหมายเท่านั้น ผลทางกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติทางกฎหมายจะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงแตกต่างไป วิธีปฏิบัติและผลย่อมแตกต่างไปด้วย หากต้องการปรึกษาคดี ทนายความ กรุณาสอบถามเพิ่มเติม

**ปรึกษาคดี ปรึกษากฎหมาย ทนายเชียงใหม่ ทนายความเชียงใหม่ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การเยี่ยมผู้ต้องขังในเรือนจำ


สวัสดีครับ วันนี้จะขอเล่าเรื่องการเยี่ยมผู้ต้องขังในเรือนจำครับ

ผมจะขอยกตัวอย่าง เรือนจำกลางจังหวัดเชียงใหม่ครับ

สำหรับการเยี่ยมผู้ต้องขังนั้น ประชาชนทั่วไปที่เป็นพ่อแม่ พี่น้อง หรือญาติ ก็ตาม การเยี่ยมผู้ต้องขังนั้น จะถูกกำหนดวันที่สามารถเข้าเยี่ยมได้โดยเรือนจำ

ยกตัวอย่างเช่นถ้าผู้ต้องขังอยู่เรือนจำที่ ๗ ก็จะสามารถเข้าเยี่ยมได้ในวันพุธ เท่านั้น

แต่ถ้าผู้ต้องขังอยู่เรือนจำที่ ๑ , ๒ , ๓ หรืออื่นๆ ก็จะมีวันที่เรือนจำกำหนดให้สามารถเข้าเยี่ยมได้เป็นวันๆไป จะไม่สามารถเข้าเยี่ยมได้ทุกวัน

ซึ่งจะแตกต่างกับทนายความ เพราะทนายความสามารถเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังในวันเวลาทำการใดๆ ก็ได้ เพราะทนายความเป็นผู้ที่จะคอยช่วยดำเนินการทางด้านคดีความให้แต่ตัวผู้ต้องขัง เช่น การสอบถามข้อเท็จจริงทางด้านคดีความ เป็นต้น จึงมีสิทธิการเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังที่มากกว่า

ดังนั้นหากพ่อแม่ พี่น้อง หรือญาติ ของผู้ต้องขังมีข้อความ ข้อมูล หรือต้องการบอกกล่าวอะไรแก่ผู้ต้องขัง ก็สามารถให้ทนายความช่วยเป็นสื่อกลางได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการอำนวยความให้แก่พ่อแม่ พี่น้อง หรือญาติ ของผู้ต้องขังในกรณีที่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบก่อนที่จะถึงวันเยี่ยมสำหรับผู้ต้องขังเรือนจำหมายเลขนั้นๆ 

*หมายเหตุ บทความนี้เป็นเพียงความเห็นทางกฎหมายเท่านั้น ผลทางกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติทางกฎหมายจะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงแตกต่างไป วิธีปฏิบัติและผลย่อมแตกต่างไปด้วย หากต้องการปรึกษาคดี ทนายความ กรุณาสอบถามเพิ่มเติม


**ปรึกษาคดี ปรึกษากฎหมาย ทนายเชียงใหม่ ทนายความเชียงใหม่ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร

ศาลนัดไกล่เกลี่ย ให้การ สืบพยาน คดีมโนสาเร่หรือคดีไม่มีข้อยุ่งยาก


สวัสดีครับ

ในนัดไกล่เกลี่ย ให้การ สืบพยาน คดีมโนสาเร่หรือคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ในนัดแรกนั้น


ในคดีแพ่งสามัญ ปกติแล้วเมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องของโจทก์แล้ว

หากรับด้วยตัวเองก็มีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหมาย
หากรับด้วยวิธีปิดหมายก็มีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ปิดหมาย

แต่สำหรับในคดีมโนสาเร่หรือคดีไม่มีข้อยุ่งยากนั้น ตามกฎหมายจำเลยสามารถยื่นคำให้การได้ภายในวันนัดแรกหรือ "นัดไกล่เกลี่ย ให้การ สืบพยาน" นั้นเอง ตามที่ปรากฎในหมายครับ


ดังนั้นหากท่านผู้อ่านตกเป็นจำเลยและได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องก็ขอให้สังเกตด้วยนะครับว่าหมายที่ได้รับ เป็นหมายเรียกคดีแพ่งสามัญ หรือคดีมโนสาเร่หรือคดีไม่มีข้อยุ่งยาก เพื่อที่จะได้ยื่นคำให้การใด้ทันตามกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย


ไม่อย่างนั้นแล้ว หากเลยกำหนดระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด ก็อาจจะถูกศาลสั่งให้ขาดนัดยื่นคำให้การ และอาจเป็นผลให้ศาลสั่งให้โจทก์ชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การได้ เรียกได้ว่าจำเลยแพ้ตั้งแต่ยังไม่ได้สู้


บทความต่อไปผมจะมาเล่าถึงกรณีที่เราจำเลยไม่อาจยื่นคำให้การทันภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด ว่าจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรครับ



*หมายเหตุ บทความนี้เป็นเพียงความเห็นทางกฎหมายเท่านั้น ผลทางกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติทางกฎหมายจะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงแตกต่างไป วิธีปฏิบัติและผลย่อมแตกต่างไปด้วย หากต้องการปรึกษาคดี ทนายความ กรุณาสอบถามเพิ่มเติม

**ปรึกษาคดี ปรึกษากฎหมาย ทนายเชียงใหม่ ทนายความเชียงใหม่ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร




อยู่ระหว่างดำเนินการ ...






อยู่ระหว่างดำเนินการ ...




วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559

ติดต่อสำนักงาน


สำนักกฎหมาย เจที ลอว์ ทนายความ

โทร.094-506-6655